
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
วัตถุประสงค์
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติบทเพลง ตีความเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงของนักเชลโลแต่ละท่าน โดยคัดเลือกบุคคลที่เป็นตัวแทนเพื่อการศึกษามาทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ ปาโบล คาซาลส์ (Pablo Casals), ฌาคเคอลีน ดูเปร (Jacqueline du Pre ),โยโย่ หม่า (Yo Yo Ma), มิสชา มายสกี (Mischa Maisky) และ สตีเวน อีสเซอร์ลิส (Steven Isserlis) และแสวงหาวิธีการฝึกซ้อมบรรเลงเดี่ยวเชลโล การบรรเลงร่วมกับเปียโน และการบรรเลงร่วมกับวงสตริงแชมเบอร์ ซึ่งได้นำมาบรรเลงทั้งหมด 3 บทเพลงเพลง ได้แก่ สวีทสำหรับเดี่ยวเชลโล หมายเลข 3 ในบรรไดเสียง C เมเจอร์ ประพันธ์โดน โยฮัน เซบัสทีอัน บัค, เชลโลโซนาตา op.19 ประพันธ์โดย เซอร์เก รัคมานินอฟฟ์ บรรมเลงร่วมกับเปียโน, และ คอนแชโต 2 เชลโล ประพันธ์โดย อันโตนิโอ วิวัลดิ และได้บรรเลงร่วมกันวงสตริงแชมเบอร์ด้วค่ะ
ดังนั้นบทเพลงที่คัดสรรมานี้มีความน่าสนใจทั้งด้านประวัติของบทเพลง เทคนิคการประพันธ์ที่มีส่วนช่วยพัฒนาเทคนิคการบรรเลงเชลโลให้มีมาตราฐานสูงขึ้น งานวิจัยนี้มุ่งประเด็นวิเคราะห์ไปที่วิธีการฝึกปฏิบัติเพื่อการแสดง เสนอแนะด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีโดยเฉพาะเชลโล ทั้งด้านการตีความบทเพลง การเตรียมตัว การวางแผนการฝึกซ้อมทั้งการฝึกซ้อมส่วนตัวและการฝึกซ้อมรวมวง และอื่นๆ
การตีความเกี่ยวกับการเล่น สไตร์ ของนักเชลโล่แต่ละท่าน อย่างเช่น
Pablo Casals นักเชลโลในศตวรรษที่20 ช่วงต้นปี 1900 ที่โด่งดังในเรื่องการเผยแพร่ suite ของ Bach
Jacqueline du Pre นักเชลโลชาวฝรั่งเศษ ซึ่งผลงานบันทึกเสียงการเล่นเชลโลที่ยอดเยี่ยมของเธอยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักดนตรีอีกหลายคน และนักเชลโลรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้แก่ Yo Yo Ma ,Mischa Maisky และ Steven Isserlis
ซึ่งสไตร์การเล่นของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันออกไป อย่างบางท่านนั้นเล่นเพลงยุคบาโรคแต่เล่นเสียงออกมาคล้ายยุคโรแมนติก ที่ใช้เทคนิควิบราโตอย่างหนักหน่วง ซึ่งแตกต่างจากการเล่นเพลงในยุคบาโรคโดยสิ้นเชิง เพราะจะเน้นเล่นแบบเคลียร์ๆเพลงส่วนใหญ่เป็นเเพลงแบบฝึกหัดของนักเรียนในยุคนั้น ซึ่งการทำโปรเจกในครั้งนี้จะเน้นไปในเรื่องของการเปรีบยเทียบ ตีความความโดยใช้เพลง suite - Bach ที่ได้ทำการเล่นโดยนักเชลโลทั้ง 5 ท่าน ที่ได้กล่าวขึ้นไปข้างต้นนี้ นำมาเปรียบเทียบกัน
การค้นคว้า


Based on copies of
Anna Magdalena Bach,
Johann Peter Kellner
Hans Eppstein (1911-2008)
Anna Magdalena Bach's manuscript of J.S. Bach's Cello Suites

ดิฉันเชื่อว่าทุกคนรู้กันเป็นอย่างดีว่า โน้ตต้นฉบับของบาคนั้นได้หายไป แต่เรามีโน้ตคัดลอก สี่ชุด จาก Johann Peter Kellner (1726) โดย Anna Magdalena Bach (1727 - 1731) และอีกสองสำเนาโดย copyists นิรนาม (Source C และ Source D ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18)

การ Interpretation เพลง หรืออย่างเพลงในยุคบาโรคเช่น Suite Bach หรือโรแมนติกอย่าง Sonata Rachmaninov ถ้าเราเล่นตามโน้ตตรงๆเลยมันอาจจะไม่เพราะ เพราะมันไม่มี dynamic ไม่มี articulation มากเพียงพอ ไม่มี ornament สวยๆ เวลาเรามองโน้ตจะเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งเราในฐานะเป็นผู้เล่น หรือ artist นั้นจะต้องตีความจากโน้ตที่เห็น ฉะนั้นโน้ตมันอาจบรรยายได้ ซึ่งดิฉันได้ทำการศึกษาจากโน้ตในสมัยโน้ตลายมือ โน้ตลายมือนั้น ไม่ใช่ลายมือจากผู้เขียน แต่เป็นลายมือจากนักคัดลอก
ยกตัวอย่างเช่น.....

Anna Magdareena


จากโน้ตลายมือมัน สังเกตุว่ามันมี slurs ทุกๆ4ตัว ในห้องที่3 นี่คือตัวอย่าง แต่ถามว่าเสลอนี่มันหมายถึงเสลอแค่2ตัวหรือปล่าว แต่สำหรับดิฉันว่ามันเสลอ4ตัว
แต่สิ่งหนึ่งคือโน้ตลายมือนั้นไม่มี dynamic แต่ว่าโน้ตใน edition ที่เราเล่นนั้นมันมี dynamic มาให้ จุดสังเกตุง่ายๆจากโน้ตตัวอย่างทั้งสองฉบับนี้คือ โน้ตไม่มี stucato หรือ dynamic มาให้
ตัวอย่างการเล่นจากนักเชลโล ยกตัวอย่าง2ท่าน
ฟังจาก youtube และเปรียบเทียบนักเชลโลทั้ง 2 ท่าน

Yo Yo Ma
จะเห็นได้ชัดว่า Yo Yo Ma จะเล่นแบบไม่มี slours เพราะเล่นตามโน้ตคัดลอกมาจริงๆเพราะเค้าเชื่อว่า Anna Magdarena นั้นลอกมาจากโน้ตออริจินอลจริงๆ แต่เพื่อให้ได้อารณ์ของเพลง ซึ่งอาจจะมีบ้างที่ YoYoMa จะใส่ slurs หรืออย่างมากก็ใส่แค่ 4 ตัว 3 ตัว 2 ตัว ไม่มากไปกว่านั้น ถ้าหากลองเทียบกับ Mischa Maisky
แต่ถึงแม้ว่า Yo Yo Ma จะอิงจากโน้ตของ Anna Magdarena แต่เค้าก็ ยังมีแนวคิดที่ขัดแย้งต่อโน้ตคัดลอกของ Anna Magdarena
จึงได้ edit โน้ตขึ้นมาเป็นของตัวเองโดยที่ without slurs

Mischa Maisky

การเล่นของ Mischa Maisky จะเล่นแบบ russian romantic หรือ romantic legato
มีการโต้เถียงกันมากกับการเล่นของ Maisky ส่วนหนึ่งของประชาชนวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางและบ่อยครั้งที่เขาใช้ vibrato และเล่นเสียงดัง อีกส่วนหนึ่งก็รู้สึกว่า Maisky รักษาคุณภาพความโรแมนติก แม้ว่าเมื่อเขาตีความเพลงแบบพิสดาร ที่ไม่สามารถพบได้ในผู้เล่นอื่น ๆ
ตัวอย่างโน้ต edit ของ Yo Yo Ma
without slurs
เห็นได้ชัดว่าโน้ต edit ของ yoyoma ไม่มี slurs เลย เมื่อเทียบกัยโน้ต coppy edit ของ Anna Magdarena
Yo Yo Ma
Anna Magdarena




การเล่น suite III Bach ของดิฉันก็จะมาจากการที่ได้เรียนกับอาจารย์แอนดรู ซึ่งอาจารย์ได้บอกว่าให้เล่นเหมือนการเล่า story ของเพลง ตามความหนัก-เบาของโน้ต ตัวอย่างเช่น อาจจะเล่าถึงการเดินทางเข้าไปในป่า เจอภูเขาที่มีทั้งความสูง-ต่ำ ก็จะเหมือนกับโน้ตที่ขึ้นๆลงๆ หรืออาจจะเจอลำธารสายน้ำที่ไปเรื่อย เหมือนอย่างโน้ตท่อนนี้ หรืออาจจะเจอผู้คนที่มีการถาม-ตอบ

.jpg)
ดิฉันได้นำรูปแบบการเล่นของ YoYoMa มาใช้กับการเล่นของตัวเอง ซึ่งยัง Bass on สไตร์ของยุคบาโรค อย่างเช่น

มันคือ Bass ของ Melody นี้ คนจะจำเสียงได้
โน้ตตัวเดียวจำง่าย
อย่างในวงกรมสีแดงนั้นก็คือ Bass line เพื่อที่จะ sustention ไปหาโน้ต melody ในวงกลมสีน้ำเงินซึ่ง YoYoMa
ให้ความสำคัญในส่วนนี้
ส่วนบางท่อนก็เล่นแบบ Mischa Maisky โดยการ Vibrato การใส่ slurs และเล่นเสียงดังกังวาล เพราะมันให้ความรู้สึกที่ไพเราะและสอดคล้องกับ story ที่เราต้องการจะสื่อ

จะเห็นได้ว่ามีการ slurs อย่างต่อเนื่องและทำ dynamic หนัก-เบา ตามโน้ต แต่อาจจะไม่ถึงขั้น Mischa แต่ก็ไม่ได้ไปในทางเดียวกับ YoYo Ma ก็คืออยู่กึ่งกลางระหว่างทั้ง 2 ท่านนั้นค่ะ